บอร์ด ความรัก,เรื่องเล่าอีกด้านของquotสูตรของเว่ยหล่างquotความจริงของเสินซิ่ว ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัสเรื่องเล่าอีกด้านของ "สูตรของเว่ยหล่าง" (1) : ความจริงของเสินซิ่ว////ขอให้ผู้อ่านใช้พลังจินตนาการ ทบทวนเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตคนสองคนไปตลอดกาล ในปี ค.ศ. 661คนหนึ่งคือ เสินซิ่ว ศิษย์อาวุโสรุ่นพี่ ว่าที่ผู้สืบทอดตำแหน่งสังฆปรินายกต่อจากพระอาจารย์หงเหยิ่น สังฆปรินายกองค์ที่ 5ส่วนอีกคนหนึ่ง คือฮุ่ยเหนิง ไอ้หนุ่มชาวป่าชาวดอยที่ไร้การศึกษา เพิ่งเข้ามาอยู่วัดได้ไม่ถึงปี ยังไม่ได้บวช โดยทำงานตำข้าวผ่าฟืนที่โรงครัวของวัด......"ไร้กาย ไร้ต้นโพธิ์ไร้จิต ไร้บานกระจกเดิมทีไม่มีใดใดฝุ่นจะจับลงที่ตรงไหน"ตอนที่ฮุ่ยเหนิง (เว่ยหล่าง) วานให้เสมียน จางยื่อยง ช่วยเขียนโศลกธรรมบทนี้ให้ ฮุ่ยเหนิงเพิ่งมีอายุเพียง 23 ปีเท่านั้นนี่คือเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 661 และถือเป็นเหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของนิกายเซน(ฉาน)ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน ท่านเสินซิ่ว (神秀,606-706) ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าศิษย์ ได้เขียนโศลกบนฝาผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ซึ่งพระอาจารย์หงเหยิ่นต้องเดินผ่านว่า"กายคือต้นโพธิ์ จิตคือกระจกใสหมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยามจึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ"ขณะนั้น ท่านเสินซิ่วมีอายุ 55 ปี แล้วถือเป็นพระอาวุโสในวัด ตัวท่านเสินซิ่วเองออกบวชตั้งแต่อายุ 13 ปี แต่เพิ่งเข้ามากราบพระอาจารย์หงเหยิ่นขอเป็นศิษย์ตอนท่านเสินซิ่วอายุ 50 ปี หรือเมื่อห้าปีก่อนส่วนพระอาจารย์หงเหยิ่น (弘忍,602-675) ตอนนั้นอายุ 59 ปีแก่กว่าท่านเสินซิ่วเพียงสี่ปีเท่านั้นพระอาจารย์หงเหยิ่นบวชตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เต้าซิ่น สังฆปรินายกองค์ที่ 4ท่านเต้าซิ่น (道信,580-651) ออกบวชตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และกลายเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เซิงชั่น สังฆปรินายกองค์ที่ 3 ตอนอายุ 12 ปี ในปี ค.ศ. 592 และออกเผยแผ่ธรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 624 ในฐานะสังฆปรินายกองค์ที่ 3 จนกระทั่งละสังขารในปี ค.ศ. 651ตอนที่ท่านเซิงชั่น (505-606) พบพระอาจารย์ฮุ่ยเข่อ สังฆปรินายกองค์ที่ 2 ครั้งแรกในปี ค.ศ. 535 เขามีอายุสามสิบปี ท่านเซิงชั่นเป็นฆราวาสมุนี และเป็นบัณฑิตที่ปฏิบัติธรรมในบ้านท่านกำลังป่วยหนักตอนที่พบพระอาจารย์ฮุ่ยเข่อครั้งแรก แต่เพียงแค่ได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ฮุ่ยเข่อ ท่านก็มีดวงตาเห็นธรรมและหายป่วยจากโรคร้าย ท่านจึงตัดสินใจออกบวชทันทีท่านติดตามศึกษาธรรมจากพระอาจารย์ฮุ่ยเข่อ จนได้รับมอบตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 3 ในปี ค.ศ. 552ท่านฮุ่ยเข่อ (慧可,487-593) เป็นบัณฑิตที่รอบรู้ทั้งคัมภีร์พุทธ คัมภีร์ขงจื่อและคัมภีร์เต๋าแต่ยังไม่มีคุรุ ท่านจึงดั้นด้นไปวัดเส้าหลินเพื่อขอเป็นศิษย์ท่านปรมาจารย์โพธิธรรมในปี ค.ศ. 528 ตอนนั้นท่านมีอายุเกินสี่สิบแล้วท่านศึกษาธรรมอยู่กับพระอาจารย์โพธิธรรมเป็นเวลาห้าปีเต็ม จึงได้รับมอบตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 534ท่านโพธิธรรม (菩提達磨,?-?) เดินทางจากประเทศอินเดียมาเผยแผ่พุทธธรรมที่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 520จะเห็นได้ว่านับจากวันแรกที่ท่านโพธิธรรมได้เหยียบแผ่นดินจีนในปี ค.ศ. 520 จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์แต่งโศลกที่วัดตงซานของท่านสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ในปี ค.ศ. 661 มีระยะเวลาห่างกันถึง 140 กว่าปี......ใครที่มีสติปัญญาทางธรรม ย่อมดูออกว่า โศลกธรรมของฮุ่ยเหนิงนั้นเหนือกว่าโศลกธรรมของท่านเสินซิ่วสองคนนี้น่าจะไม่เคยพบหน้ากันเลยซึ่งๆหน้าอย่างมากที่สุด ฮุ่ยเหนิงอาจจะเคยเห็นหน้าท่านเสินซิ่วแต่ไกลและเคยได้ยินชื่อท่านเสินซิ่วมาก่อนเพราะท่านเสินชิ่วเป็นพระผู้ใหญ่อันดับสองของวัดนี้แต่ท่านเสินซิ่วน่าจะไม่เคยรู้จักฮุ่ยเหนิงผู้มีศักดิ์ฐานะต่ำต้อยในวัดใหญ่แห่งนี้ คือไม่รู้จักทั้งชื่อและหน้าตาของฮุ่ยเหนิงวันรุ่งขึ้น หลังจากที่พระสังฆปรินายกหงเหยิ่นได้ถอดรองเท้าลบโศลกธรรมของฮุ่ยเหนิง ท่านได้ลอบมาที่โรงตำข้าวเพื่อพบกับฮุ่ยเหนิง ชายหนุ่มร่างเล็กเตี้ยที่กำลังใช้สากหินและครกกระเดื่องตำข้าวอยู่พระสังฆปรินายกหงเหยิ่นทำสัญญาณบอกใบ้นัดแนะให้หนุ่มฮุ่ยเหนิงลอบไปหาท่านในเวลายามสามคืนนั้น เพื่อรับการถ่ายทอดธรรมญาณโดยสมบูรณ์ และรับมอบผ้ากาสาวพัสตร์และบาตร อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งสังฆปรินายกแห่งนิกายเซนจากนั้นพระสังฆปรินายกหงเหยิ่นได้บอกให้ฮุ่ยเหนิงหลบหนีออกจากวัดในตอนเที่ยงคืนของคืนนั่นเลย โดยท่านได้ไปส่งหนุ่มฮุ่ยเหนิงให้ลงเรือแจวข้ามแม่น้ำ โดยท่านบอกให้ฮุ่ยเหนิงจาริกไปทางใต้และซุ่มซ่อนตัวจนกว่าจะถึงเวลาเหมาะสมที่จะเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของเซนหลังจากไปส่งฮุ่ยเหนิงและกลับมาวัดตงซานแล้ว พระสังฆปรินายกหงเหยิ่นเก็บตัวอยู่ในกุฏิหลายวันไม่ปรากฏตัวบนธรรมศาลา ท่ามกลางข่าวลือและการโจษจันของบรรดาศิษย์นับพันคนในวัดจนกระทั่งกลุ่มลูกศิษย์ในวัดอดรนทนไม่ได้จึงยกพวกไปสอบถามเชิงคาดคั้นพระสังฆปรินายกหงเหยิ่น พอทราบความจริงจากปากของสังฆปรินายกหงเหยิ่น ทุกคนถึงกับตกตะลึง ยอมรับไม่ได้ และปักใจเชื่อว่า"พระสังฆปรินายกหงเหยิ่นชราแล้ว มีสติฟั่นเฟือนแล้วจึงมอบผ้ากาสาวพัตร์และบาตรให้กับคนป่าคนดอยไม่รู้หนังสืออย่างไอ้หนุ่มฮุ่ยเหนิง"จากนั้นมีกลุ่มลูกศิษย์ในวัดจำนวน 500 คนยกขบวนกันออกตามล่าฮุ่ยเหนิง โดยมีเป้าหมายที่จะแย่งผ้ากาสาวพัตร์และบาตรมามอบให้แก่ท่านเสินซิ่วที่เป็นหัวหน้าสานุศิษย์แห่งสำนักของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 5ขณะเดียวกันทางวัดตงซานก็พยายามปิดข่าวเงียบเรื่องฮุ่ยเหนิงได้ตำแหน่งพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ต่อจากพระอาจารย์หงเหยิ่นไม่นานข่าวลือเรื่องนี้ก็หายไปกับสายลมตอนนั้นแทบไม่มีคนนอกวัดตงซานรับรู้เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนระดับวิกฤตศรัทธาดังกล่าวเลย......หากมองเหตุการณ์นี้ด้วยสายตาเป็นธรรม เราจะเห็นว่า ตัวท่านเสินซิ่วนั้นยอมรับตั้งแต่แรกแล้วว่าโศลกธรรมของตัวเองสู้โศลกธรรมของฮุ่ยเหนิงไม่ได้เขาน่าจะพยายามห้ามปรามพวกลูกศิษย์คนอื่นๆแล้วไม่ให้ออกตามล่าฮุ่ยเหนิง แต่ไม่มีใครในวัดยอมเชื่อฟังเขาท่านเสินซิ่วตอนนั้นมีอายุ 55 ปีแล้ว ตอนที่เขาจำต้องแต่งโศลกธรรม แม้เขาจะตั้งใจศึกษาธรรมมาทั้งชีวิตก็จริง แต่เขาก็ยังไม่มีความมั่นใจต่อภูมิธรรมของตนขณะนั้นเขามีความขัดแย้งในใจอย่างรุนแรง ความคิดหนึ่งบอกเขาว่า ถ้าเขาไม่แต่งโศลกธรรมตามคำบัญชาของพระสังฆปรินายกแล้ว ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า ความรู้และภูมิธรรมของเขาลึกซึ้งคู่ควรที่จะได้รับการถ่ายทอด "ธรรมอันเร้นลับแห่งนิกายเซน"แต่อีกความคิดหนึ่งบอกเขาว่า "เจ้าคิดแต่งโศลกธรรมเพราะเจ้าอยากได้ตำแหน่งสังฆปรินายกใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็แสดงว่าจิตของเจ้ายังเป็นจิตปุถุชน ที่ข้องยึดอยู่ในวิสัยของชาวโลก"ด้วยเหตุนี้ท่านเสินซิ่วจึงลังเลรีรอในการแต่งโศลกธรรม ว่ากันว่าภายในเวลา 4 วัน ท่านเสินซิ่วพยายามส่งโศลกธรรมให้พระสังฆปรินายกถึง 13 ครั้งแต่ไม่สำเร็จสุดท้ายท่านเสินซิ่วต้องแอบเขียนโศลกธรรมที่เขาแต่งขึ้นท่ามกลางความกดดันและความลังเลไม่แน่ใจของเขาบนผนังช่องทางเดินทางทิศใต้แทนโศลกธรรมที่เขียนออกมาจากสภาวจิตที่ลังเลแบบนี้ไม่มีทางเป็นโศลกธรรมชั้นยอดได้เพราะหลังจากที่ท่านเสินซิ่วเขียนโศลกธรรมบนผนังช่องทางเดินแล้ว เขากลับคิดมากเรื่องโศลกธรรมบทนี้ตลอดทั้งคืนจนนอนไม่หลับ กระสับกระส่ายหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้นได้เกิดเรื่องราวใหญ่โตภายในวัดที่ตัวท่านเสินซิ่วเองก็คาดไม่ถึง มิหนำซ้ำเหตุการณ์ยังลุกลามบานปลายจนแม้แต่ตัวเขาก็ห้ามปรามยับยั้งอะไรไม่ได้เลยเขาไม่เคยพบหน้าฮุ่ยเหนิงมาก่อน เขาจำหน้าฮุ่ยเหนิงไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่เขายอมรับทั้งปากทั้งใจว่าฮุ่ยเหนิงเขียนโศลกธรรมได้ดีกว่าเขาในที่สุดท่านเสินซิ่วตัดสินใจเด็ดขาดเขาไปกล่าวอำลาพระสังฆปรินายกหงเหยิ่น ขอออกจากวัดเพื่อกลับไปตั้งต้นภาวนาใหม่อีกครั้งดุจนักเรียนน้อยพระสังฆปรินายกหงเหยิ่นอนุญาต ท่านเข้าใจจิตใจและตัวตนของเสินซิ่วเป็นอย่างดีว่าคนผู้นี้เป็นคนดีโดยพื้นฐาน แม้จะมีปัญญาบารมีเทียบฮุ่ยเหนิงไม่ได้ก็ตามในปี ค.ศ. 661 ท่านเสินซิ่วปลีกวิเวกไปอยู่ที่วัดเล็กๆแห่งหนึ่งที่แคว้นจิงโจวแถบเหอเป่ย ท่านภาวนาอยู่ที่วัดนี้สิบปีเต็มโดยไม่ออกไปไหนเลยปี ค.ศ. 674 พระสังฆปรินายกหงเหยิ่นละสังขารปี ค.ศ. 700 ท่านเสินซิ่วมีอายุ 95 ปี พระนางบูเช็คเทียน (武則天,624-705) ได้เชิญท่านเสินซิ่วไปแสดงธรรมที่เมืองหลวง ท่านได้รับการยกย่องเป็น "พระสังฆราช แห่งสองนครหลวง" (ฉางอานกับลั่วหยาง) และเป็นราชครูของสามจักรพรรดิ ก่อนที่ท่านเสินซิ่วจะละสังขารในปี ค.ศ. 706 สิริอายุ 101 ปีส่วนท่านฮุ่ยเหนิง (慧能,638-713) ละสังขารในปี ค.ศ. 713 ห่างจากการละสังขารของท่านเสินซิ่วเพียง 7 ปีเท่านั้นตอนที่ท่านฮุ่ยเหนิงละสังขาร ท่านฮุ่ยเหนิงเป็นเพียงพระป่าชื่อดังในมณฑลทางใต้ใกล้โพ้นจากศูนย์กลางจักรวรรดิของราชวงศ์ถังที่เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวดอย ปัญญาชนและชนชั้นนำในนครหลวงไม่เคยมีใครรู้จักท่านฮุ่ยเหนิง ยกเว้นได้ยินคำร่ำลือจากปากต่อปากมาเป็นทอดๆจนเข้าหูเท่านั้นขณะที่ท่านเสินซิ่วกลับโด่งดังมากและเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงในหมู่ชนชั้นนำที่นครหลวงทั้งสองแห่งในยุคนั้น ในฐานะที่ท่านเป็นนักบวชบัณฑิตที่เป็นทายาททางธรรมคนสำคัญของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 5ในตอนนั้น สำนักเซนของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 เรียกว่า สำนักตงซานตามชื่อวัด ไม่มีการประดิษฐ์ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความแตกแยกเป็น "สำนักฉับพลัน" (เซนใต้) กับ "สำนักเชื่องช้า" (เซนเหนือ)คำสองคำนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างจงใจใน "สูตรของเว่ยหล่าง" (六祖壇経) โดยศิษย์ของท่านเสินซิ่วและท่านเว่ยหล่างคนหนึ่งที่ชื่อ เสินฮุ่ย (神会,684-758)เสินฮุ่ยคนนี้แหละที่เป็นผู้ปรับแก้เนื้อหาบางส่วนของ "สูตรของเว่ยหล่าง" ที่แต่เดิมเป็นแค่บันทึกคำสอนของท่านฮุ่ยเหนิงโดยศิษย์ที่ชื่อ ฝ่าไห่ (法海) อย่างมีวาระซ่อนเร้นในราวปี ค.ศ. 736 หลังจากท่านเสินซิ่วละสังขารไปแล้วสามสิบปี และหลังจากที่ท่านฮุ่ยเหนิงละสังขารไปแล้วยี่สิบกว่าปี(ยังมีต่อ)สุวินัย ภรณวลัย
@https://www.thaiclubbet.com/ afreecatv thailand 2023 All Copyrights Reserved.
top